วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

เขื่อน

เขื่อน เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัยรวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนบนของเขื่อนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่าทางน้ำล้น สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง
ชนิดของเขื่อน
ชนิดของเขื่อน จะจำแนกตามชนิดของวัสดุก่อสร้าง เช่น เขื่อนหิน เขื่อนดิน เขื่อนคอนกรีต เขื่อนคอนกรีตบดอัด หรือเขื่อนไม้

ประโยชน์ของเขื่อน

ประโยชน์ของเขื่อนที่สำคัญ คือ เพื่อกักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำจากช่วงฤดูน้ำหลากและปล่อยน้ำใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภคบริโภคในช่วงขาดแคลนน้ำ เขื่อนยังคงใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วมฉับพลันในฤดูที่น้ำไหลหลากอีกทางหนึ่ง โดยเขื่อนจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำ ให้น้ำไหลผ่านได้เฉพาะตามปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันเขื่อนมีหน้าที่หลักอีกด้านคือการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งในประเทศไทยมาจากการปั่นไฟจากเขื่อน นอกจากนี้เขื่อนบางแห่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เช่น การล่องเรือ หรือ การตกปลา
อย่างไรก็ตามเขื่อนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปิดกั้นทางน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ไม่สามารถว่ายไปตามกระแสน้ำเพื่อวางไข่ได้ในช่วงฤดูขยายพันธุ์ เขื่อนยังคงปิดกั้นทางน้ำทำให้การเดินทางทางเรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ ปัญหาของการสร้างเขื่อนที่มียังรวมถึงพื้นที่บ้านเรือนและป่าไม้ที่อยู่บริเวณเหนือเขื่อน จะถูกท่วมจมอยู่ใต้น้ำไม่สามารถใช้งานได้
เขื่อนในประเทศไทย

ดิน

เนื้อดิน (Soil Texture)
          คุณสมบัติที่เรียกว่าเนื้อดินนั้น ได้แก่ ความเหนียว ความหยาบ  หรือละเอียดของดิน ที่เรามีความรู้สึกเมื่อเราหยิบเอาดินที่เปียกพอหมาดๆ ขึ้นมาบี้ด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่าดินบางก้อนเหนียว บางก้อนหยาบและสากมือนั้น เนื่องจาก  อนุภาคของแร่หรืออนินทรียสารที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในดินนั้นมีขนาดต่างกัน อยู่ร่วมกันทั้งหยาบ  และละเอียดเป็นปริมาณสัดส่วนแตกต่างกันออกไปในแต่ละเนื้อดิน เนื้อดินมีอยู่ทั้งหมด ๑๒ ชนิด  แต่ก็สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มเนื้อดินได้ ๔ กลุ่ม 
          ความสำคัญของเนื้อดินที่มีต่อความเหมาะสมในการเพาะปลูก

          ๑. ด้านการเตรียมดิน
กลุ่มดินเหนียวและกลุ่มดินค่อนข้างเหนียวจะไถพรวนลำบาก กล่าวคือ เมื่อเปียกจะเหนียวจัด ถ้าแห้งก็จะแข็งจัดการเตรียมดินเพื่อการปลูกพืชทำได้ลำบากกว่ากลุ่มดินร่วนและกลุ่มดินทราย ซึ่งจะไถพรวนง่ายกว่า
          ๒. ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน กลุ่มดินเหนียวและค่อนข้างเหนียวจะมีความสามารถอุ้มปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืชและน้ำไว้ในดินได้มากกว่ากลุ่มดินร่วนและดินทราย ดังนั้นถ้าเราสามารถทำให้ดินเหนียวและดินค่อนข้างเหนียวมีสภาพไม่แน่นทึบ ดินมีความโปร่งพอสมควร ดินพวกนี้จะปลูกพืชได้งามดี ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ตรงข้ามกับกลุ่มดินร่วนและดินทรายซึ่งจะอุ้มน้ำและปุ๋ยได้น้อย ถ้าดินไม่ได้รับปุ๋ย หรืออินทรียวัตถุในดินมีอยู่น้อย พืชที่ปลูกมักจะไม่ค่อยงาม ต้องรดน้ำบ่อยใส่ปุ๋ยบ่อยๆ พืชจึงจะงอกงามดี
          ๓. ความโปร่งและร่วยซุย ดินในกลุ่มดินเหนียวมักจะแน่นทึบ ต้องพรวนบ่อยๆ หรือต้องจัดการเรื่องการระบายน้ำให้ดี เพราะจะขังน้ำได้ง่าย ทำให้รากพืชเน่าและไม่สามารถดูดน้ำและปุ๋ยได้อย่างปกติ จึงต้องหาวิธีทำให้ดินพวกนี้โปร่ง เช่น ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักผสมดินตอนเตรียมดินให้มากๆ ส่วนดินร่วนและดินทรายจะมีคุณสมบัติโปร่ง การระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทดี  เหมาะกับการเจริญเติบโต และการดึงดูดปุ๋ยและน้ำในดินของราก แต่บางครั้งดินที่มีทรายปนอยู่มากจะโปร่งจนเกินไป พืชขาดน้ำง่ายเพราะดินแห้งเร็ว ต้องรดน้ำบ่อยๆ ทำให้การดูแลลำบาก  เราสามารถเพิ่มความอุ้มน้ำของดินร่วนและดินทรายได้ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออินทรียวัตถุต่างๆ ผสมกับดินให้มากๆ

ปิโตรเลียม

ปิโตรเลียม (ละติน: petroleum, มาจากภาษากรีก petra (หิน) กับภาษาละติน oleum (น้ำมัน)[1] รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือเรียกว่า น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม[2][3] หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์[4] นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด
ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
เชื้อเพลิงปิโตรเลียม มีหลายรูปแบบ กล่าวคือ
  1. แก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม (LPG) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลดอุณหภูมิให้ก๊าซเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เมื่อลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ไม่มีสี ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่างๆ
  2. เชื้อเพลิงเหลว แบ่งเป็น
    1. น้ำมันเบนซิน (gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทนต่ำ จะมีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารจำพวกเตตระเอธิลเลต หรือสารเมทิลเทอร์เธียรีบิวทิลอีเธน (MTBE) ลงไปเพื่อให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้น ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีเลขออกเทนสูง
    2. น้ำมันก๊าด (kerosene) เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก เดิมใช้สำหรับจุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายทาง เช่น ใช้เป็นส่วนผสมในยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันขัดเงา และน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นเชื่อเพลิงสำหรับรถแทรกเตอร์ และเป็นเชื้อเพลิงในการเผาเครื่องเคลือบดินเผา
    3. น้ำมันดีเซล (Diesel) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนในลูกสูบที่เกิดจากการอัดอากาศสูง มักใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ รถบรรทุก รถโดยสาร และเรือประมง
    4. น้ำมันเตา (fuel oils) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำ เตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กับเครื่องยนต์เรือเดินสมุทร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่
ยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียม รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555


ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
ชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง
             1)  แร่โลหะคือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่
(1)
ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋อง นำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่
             (2)
วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่าทังสเตนมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ
              (3)
เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ
              (4)
ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืน ทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
              (5)
ทองแดง  มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ
2)
แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่
(1)
ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก
(2)
เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล
(3)
แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์
แร่เชื้อเพลิง  คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
ประโยชน์ของแร่
1)  
ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม
 2)  
ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ
 3)  
ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน 4)  ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและพลังงานตลอดจนนำมาสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
แนวทางการอนุรักษ์แรj
 1)
ขุดแร่มาใช้เมื่อมีโอกาสเหมาะสม
 2)
หาวิธีใช้แร่ให้มีประสิทธิภาพและได้ผลคุ้มค่ามากที่สุด
3)
ใช้แร่อย่างประหยัด
4)
ใช้วัสดุหรือสิ่งอื่นแทนสิ่งที่จะต้องทำจากแร่ธาตุ
5)
นำทรัพยากรแร่กลับมาใช้ใหม่ เช่น นำเศษเหล็ก เศษอลูมิเนียม เอามาหลอมใช้ใหม่ เป็นต้น
ทรัพยากรแร่ธาตุในท้องถิ่นต่างๆ
ภาคเหนือ             มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ แร่ธาตุที่สำคัญ คือ
-  
ถ่านหินลิกไนต์ พบที่ . แม่เมาะ .ลำปาง .ลี้ .ลำพูน
-  
น้ำมันปิโตรเลียม พบที่ .ฝาง . เชียงใหม่
-  
หินน้ำมัน พบที่ .ลี้ .ลำพูน
 -
ดินขาว พบที่ . แจ้ห่ม . ลำปาง
-  
ฟลูออไรต์ พบที่ .เชียงใหม่   เชียงราย   แม่ฮ่องสอน
-  
ดีบุก พบที่ . แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   มีแร่ธาตุ ไม่มากนัก แร่ธาตุที่สำคัญ คือ
-  
แบไรต์  พบที่ .เลย อุดรธานี
-  
เกลือหิน พบที่ . นครราชสีมา
-  
ก๊าซธรรมชาติ พบที่ . ขอนแก่น
ภาคกลาง      มีแร่ธาตุไม่มากนัก แร่ธาตุที่สำคัญ คือ
-  
ยิปซัม พบที่ . นครสวรรค์ พิจิตร
-  
น้ำมันปิโตรเลียม พบที่ . กำแพงเพชร
-  
ดีบุก  พบที่ . สุโขทัย
-  
เหล็ก  พบที่ . ลพบุรี
ภาคตะวันออก          แร่ธาตุที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ
-  
รัตนชาติ  พบที่ .จันทบุรี ตราด
-  
ทรายแก้ว พบที่ . ระยอง
-  
แร่เหล็ก พบที่ . ระยอง ชลบุรี
ภาคตะวันตก      แร่ธาตุที่สำคัญคือ
-   
สังกะสี   พบที่   .ตาก
-   
เหล็ก   พบที่   .กาญจนบุรี
-   
รัตนชาติ  พบที่  .บ่อพลอย   .กาญจนบุรี
-   
หินน้ำมัน  พบที่   .ตาก
-    
ดีบุก  พบที่  .กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้       มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ แร่ธาตุที่สำคัญคือ
-   
ดีบุก  พบที่ .พังงา ภูเก็ต ระนอง
-   
ยิปซัม  พบที่ .สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
-   
ทรายแก้ว  พบที่ .สงขลา
-   
แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทยบริเวณนอกชายฝั่ง    .สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
                    ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ มีสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการดังนี้
                      -  แผ่นดินไหว                                                                -  การสร้างที่อยู่อาศัย
                      -  การทรุดตัวของแผ่นดิน                                              -  การสร้างเขื่อน
                      -  น้ำกัดเซาะตลิ่ง                                                            -  การนำเทคโนโลยีทันสมัย
                      -  อื่นๆ                                                                               มาใช้ในการผลิต                                                                                                              ผลจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
  มนุษย์ได้มีบทบาทในการทำให้สภาพแวดล้อมเสียไป ทั้งโดยความจงใจและ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากกิจกรรมของมนุษย์ และจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่างไม่คำนึงถึงผลเสียที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ   ตามมามากมาย ดังนี้
  1. มลพิษทางอากาศ  หรืออากาศเป็นพิษ ซึ่งเกิดจากการที่ในอากาศมีปริมาณของออกซิเจนน้อย แต่มีส่วนผสมของฝุ่นละอองและสารอื่นๆ ปะปนอยู่มาก ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเรา                                                                          
2. มลพิษทางน้ำ หรือน้ำเสียส่วนใหญ่ เกิดจากการทิ้งสารพิษลงในแหล่งน้ำ    เช่น ขยะ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม       สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ทำให้น้ำเน่าเสีย  นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย
 3.
ปัญหาเกี่ยวกับดิน มีหลายประการได้แก่ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะการใช้ดินที่ผิดประเภท ดินเน่าเสียเพราะการทิ้งขยะและสารเคมี ดินจืดเพราะขาดปุ๋ย   เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำๆ ในพื้นที่เดิมการแก้ปัญหาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นแนวทางการแก้ปัญหาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 1) สร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมแก่ประชาชน และบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น
  2) ให้คนในท้องถิ่นหรือในชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง
 3) ปลุกจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้มีความรู้สึกรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อจะได้ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
 4) ร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น เช่น โครงการปลูกป่า ทดแทน โครงการปลูกป่าชายเลน